บัตร RFID
ถ้าจะพูดถึงระบบรักษาความปลอดภัยแล้ว เดี๋ยวนี้ถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นองค์กร หรือหอพัก ต่างก็ให้ความสำคัญไม่แพ้กัน แต่หากเราจะเลือกวิธีรักษาความปลอดภัยสักอย่างจากวิธีที่มีอยู่อย่างหลากหลายในท้องตลาดทางเรา สยามฟิงเกอร์ ขอนำเสนอ เครื่องทาบบัตรคีย์การ์ดก่อนวิธีรักษาความปลอดภัยอื่น เพราะว่าเครื่องทาบบัตรคีย์การ์ด มีความ แข็งแรง ทนทาน และมีราคาที่ถูก เครื่องทาบบัตรคีย์การ์ด สามารถนำบัตร์ดคีย์การ์ดมาต้องลงทะเบียนข้อมูลผู้ใช้ได้เลยไม่ยุ่งยากเหมือนกับวิธีอื่น เพียงแค่เอาบัตรคีย์การ์ดที่เราซื้อมาลงทะเบียนกับระบบรักษาความปลอดภัยเท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย
ระบบรักษาความปลอดภัยนั้นจะต้องไม่เสียเวลาดูแลบ่อยๆ ติดตั้งครั้งหนึ่ง สามารถใช้งานได้ เป็น 10ปี อย่างต่ำใช้งานได้ตลอดพูดง่ายๆก็คือเป็นระบบที่เสถียรต่อการใช้งานมาก ซึ่งระบบบัตรคีย์การ์ดนี้แหละเป็นระบบที่ใช้งานเสถียรมากเพราะใช้แค่อย่างเดียวคือสแกนอ่านค่าบัตรเท่านั้น บัตรก็คล้ายกันทำให้ระบบไม่ซับซ้อนจึงเหมาะกับการเอามาเป็นระบบรักษาความปลอดภัย
มีตัวอย่างลักษณะ รูปเเบบเครื่องทาบบัตร (เครื่องทาบบัตรคีย์การ์ด) ให้ดูคร่าวๆดังนี้
ระบบ Access Control ถ้าแปลตรงตัวก็คือระบบควบคุมการเข้าถึง แต่ถ้าพูดภาษาที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ก็คือระบบควบคุมการผ่านเข้าหรือออก ในที่นี้เราจะใช้กับการผ่านเข้าออกประตูหรือการผ่านเข้าออกพื้นที่ ระบบ Access Control ที่เราคุ้นเคยกันดี ก็ได้แก่ระบบ Key Card ซึ่งคำนี้เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว ซึ่งระบบ Key Card สมัยก่อนๆ ใช้กุญแจที่ทำจากสแตนเลสต้องเสียบเข้าไปในช่องที่หน้าประตู พกใส่กระเป๋าสตางค์ไม่ได้
จนกระทั่งเทคโนโลยีเกี่ยวกับ RFID ได้เข้ามา ทำให้ระบบ Key Card เดิมได้ถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น มีลักษณะเป็นบัตรเหมือนบัตร ATM แต่ไม่มีแถบแม่เหล็กหลังบัตร สามารถพกพาได้สะดวก บางแบบยังออกแบบเป็นพวงกุญแจขนาดเล็กเท่ากับสลักฝาเครื่องดื่มกระป๋อง การใช้งานก็เปลี่ยนไป ด้วยเทคโนโลยี RFID ซึ่งใช้คลื่นวิทยุในการส่งสัญญาณรหัสบัตรไปยังเครื่องอ่านบัตร ทำให้ไม่ต้องมีการรูดหรือเสียบบัตรอีกต่อไป เพียงแต่นำบัตรไปวางในตำแหน่งด้านหน้าของเครื่องอ่านบัตรหรือ เครื่องทาบบัตร หากสักประมาณ 3-6 เซ็นติเมตร ประตูก็จะปลดล๊อค
เคยส่งสัยหรือไม่ว่าแล้วประตูปลดล๊อคได้อย่างไร หลักการทำงานก็ง่ายๆ ครับ เมื่อเรานำบัตรไปทาบหน้าเครื่องอ่านบัตร (Card Reader) เครื่องอ่านบัตรจะส่งสัญญาณวิทยุ ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าอ่อนๆ ออกมาจากขดลวดซึ้่งทำหน้าที่เป็นสายอากาศ จากนั้นบัตร RFID ที่เรามักใช้สำหรับงาน Access Control ซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้งานกันอยู่ใน 2 ย่านความถี่ได้แก่ 125 kHz (Proximity Card) และ 13.75 mHz (Mifare Card) ภายในจะมีขดลวดเล็กพันเป็นวงและเชื่องต่อเข้ากับ Chip ซึ่งถูกฝังอยู่ภายในตัวบัตร (RFID Card) เมื่อบัตรถูกนำไปใกล้รัศมีที่สามารถรับสัญญาณไฟฟ้าอ่อนๆ จากเครื่องอ่านบัตร บัตรจะได้รับกระแสไฟฟ้านำเหนี่ยว ทำให้เกิดเป็นพลังงาน และส่งกลับข้อมูลออกไปยังเครื่องอ่านบัตร เครื่องอ่านบัตรก็จะทำการแปลรหัสที่ได้ออกมาและตรวจสอบ ว่ารหัสนี้มีสิทธิในการผ่านเข้าออกหรือไม่ ถ้ามีเครื่องอ่านบัตรก็จะทำการสั่งให้ชุด Relay ทำงานตัดต่อวงจรไฟฟ้าที่ไปเลี้ยงชุดกลอนล๊อค ทำให้ประตูถูกปลดล๊อคนั้นเอง
ปัจจุบันด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี การตรวจสอบเอกลักษณ์ของบุคคลด้วยลายนิ้วมือ (Fingerprint) ทำให้เรายิ่งสะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถใช้ลายนิ้วมือของเราแทนกุญแจ หรือบัตร ด้วยเครื่องสแกนลายนิ้วมือช่วยเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นและมั่นใจได้ว่า โอกาสที่จะมีใครแอบอ้างก็จะหมดไป นอกจากนี้ก็ยังมีเทคโนโลยีการถ่ายภาพเส้นเลือดดำ ซึ่งกำลังมาแรงเพราะสามารถแก้ไขปัญหาของกลุ่มคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับลายนิ้วมือที่ลอกหรือบางมากๆ ได้